Be Takerng

Pattanopas

Thailand
1965

Be Takerng Pattanopas’s practice emerges from twin obsessions with space within and space without. His drawings, installations, paintings and sculptures explore the human body’s interior as such can be symbolized to suggest the infinity of the cosmos. This might be considered a distinctly 21 century preoccupation; the spirit of our time (Zeitgeist) as our world seems both smaller and bigger than ever. 

The artist has suffered complex health issues with benign tumours in adrenal and pituitary glands. This is addressed through hybrid forms that play with symbolizations of voids, microscopic invasions of the body, and also tunnels and monoliths. The latter motif was inspired by Stanley Kubrick's famed film 2001: A Space Odyssey, based on the sci-fi novel by Arthur C. Clarke. All the elements are precisely orchestrated by the artist so that the viewer’s experience is strangely ambiguous, or meanings appear perpetually in flux as they contemplate expansive metaphors of self.

Pattanopa’s completed a Ph.D. (Fine Art) at Cheltenham & Gloucester CHE in the UK. Solo exhibitions include Space of 25 Light Years (JWD Art Space, Bangkok, 2021); The Nerve That Eats Itself (Gallery VER, Bangkok, 2018); What I Don’t Know That I Know (H Gallery, Bangkok, 2013); Compulsive Orders (Tally Beck Contemporary, New York City, 2011); and Permanent Flux (GMT+7, Brussels, 2009). Commissions and group exhibitions include GAP the Mind (2012), i Light Marina Bay (Singapore); and SPECTROSYNTHESIS II– Exposure of Tolerance (Bangkok Art and Culture Centre, 2019-2020). He is Director of the Communication Design Programme (CommDe) at Chulalongkorn University in Bangkok.

กระบวนการสร้างศิลปะของเถกิง พัฒโนภาษ ศิลปินผู้ทำงานในกรุงเทพมหานคร  เป็นผลจากความหมกมุ่นเกี่ยวกับ พื้นที่ภายในกาย และพื้นที่นอกโลก ตลอดหลายปี เถกิงมุ่งมั่นสำรวจสัญญะ เกี่ยวกับความกลวงเปล่าของกายคน ซึ่งสัมพันธ์กับแนวคิดว่าด้วยจักรวาลอันไร้ขอบเขต โดยแนวคิดสองขั้วนี้มีนัยยะสำคัญต่อศตวรรษที่ 21 จนอาจถือได้ว่าเป็นจิตวิญญาณแห่งยุคสมัย (Zeitgeist)  ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เถกิง มีปัญหาสุขภาพซับซ้อนจากเนื้องอกที่ต่อมหมวกไตและต่อมใต้สมอง ซึ่งเถกิงกลั่นออกมาเป็นผลงานช่วงหลัง อันมีลักษณะเป็นการผสมผสานระหว่างผลงานประติมากรรม ศิลปะจัดวาง และจิตรกรรม ผ่านการสำรวจพื้นที่ว่างเปล่า (void) และภาพจากกล้องจุลทรรศน์ ที่เผยให้เห็นความสลับซับซ้อนของอวัยวะ รวมไปถึงอุโมงค์ และเสาหิน(monolith) ซึ่งบันดาลใจจากวัตถุปริศนาที่ไม่มีใครทะลวงเข้าไปได้ ในนวนิยายวิทยาศาสตร์ของอาเธอร์ ซี. คลาร์ค และภาพยนตร์ก้องโลก 2001: A Space Odyssey ของสแตนลีย์ คูบริก ในงานของเถกิง องค์ประกอบทั้งหมดถูกจัดสรร ควบคุม อย่างถี่ถ้วนแม่นยำ เพื่อให้ผู้ชมประสบพบพานความกำกวมอันวิปริต ก่อกำเนิดความหมายถึงตัวตนของคนเราซึ่งแปรเปลี่ยนเป็นนิจ

งานศิลปะร่วมสมัยของเถกิง พัฒโนภาษ ครอบคลุมช่วงเวลากว่าสองทศวรรษ เริ่มจาก พ.ศ. 2539 เมื่อเถกิงเริ่มทำวิจัยระดับปริญญาเอก ที่เชลเทนแฮมแอนด์กลอสเตอร์ ซีเอชอี ในประเทศอังกฤษ  เถกิงแสดงนิทรรศการเดี่ยวหลายครั้ง เช่น Space of 25 Light Years (JWD Art Space กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2564) The Nerve That Eats Itself – ประสาทแดก (Gallery VER กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2561)  What I Don’t Know That I Know (H Gallery กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556) Compulsive Orders (Tally Beck Contemporary นิวยอร์ก พ.ศ. 2554) Permanent Flux (GMT+7 บรัสเซลส์ พ.ศ. 2552) งานแสดงกลุ่ม เช่น GAP the Mind (พ.ศ. 2555) ซึ่งได้คอมมิชชั่นโดยรัฐบาลสิงคโปร์ ในเทศกาลศิลปะ i Light Marina Bay 2012 ที่สิงคโปร์  รวมถึง SPECTROSYNTHESIS II­– Exposure of Tolerance (หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2562-3)  ปัจจุบันเถกิงดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหลักสูตรนานาชาติ CommDe ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

On Display at BAB2022