Alwin

Reamillo

Philippines
1964

Alwin Reamillo studied Visual Arts at the Philippine High School for Arts, University of the Philippines College of Fine Arts, W.A. School of Visual Arts, Western Australian Academy of Performing Arts. 

He began his artistic practice as an Arts Teacher at the Philippine High School for the Arts. He grounds his studio practice in experimental mixed media and pedagogical exploration of creative play. He has initiated collaborative projects that intersect between mixed media painting, installation, shadow puppetry, video and performance. After migrating to Australia in 1995, he pursued interest in exploring ideas about memory, mobility, cross-cultural dialogue/exchange, community collaboration and the experience of moving back and forth between cultures. Interested in examining how these interactions can change ways of thinking. Through immersive exploration of intertwined themes of colonisation, migration and globalisation of culture, Reamillo has collaborated with diverse communities across regional Australia and overseas, developing participatory ‘social sculptures’ in the form of ‘vehicles/ vessels/-crafts’, in response to local contexts and histories. Recent projects often developed through an immersive process of ‘hunting and gathering’, which the artist re-translates as ‘hunting’ for found and sought materials/resources and a ‘gathering’ of people. 

Reamillo has presented work in Australia and in the Philippines and has participated in national and international exhibitions, collaboration projects and artists residencies, including Polyphony: Southeast Asia (Art Museum of Nanjing University of the Arts, 2019); Artist Making Movement: Asian Art Biennial 2015 (Taiwan National Museum of Fine Arts); Sculpture by the Sea Bondi 2015 (Sydney); The Roving Eye: Contemporary Art from Southeast Asia (ARTER/Space for Art, 2014); Third Fukuoka Asian Art Triennale (Fukuoka Asian Art Museum, 2007).

Reamillo was a recipient of Freeman Foundation for Asian Artist Fellowship, Vermont Studio Center, USA 1996 and the 1994 Thirteen Artists Awards, Cultural Center of the Philippines. 

He currently divides time between Manila and Perth.

อัลวิน รีอามิลโลศึกษาด้านศิลปกรรมที่ เดอะฟิลิปปินส์ไฮสคูลฟอร์ดิอาร์ตส์ มหาวิทยาลัยเดอะฟิลลิปปินส์คอลเลจออฟไฟน์อาร์ตส์ ดับเบิลยู.เอ. สคูลออฟวิชวลอาร์ตส์ และเวสเทิร์นออสเตรเลียนอะคาเดมีออฟเพอร์ฟอร์มมิ่งอาร์ตส์

เขาเริ่มการทำงานด้านศิลปะในฐานะครูสอนศิลปะที่เดอะฟิลิปปินส์ไฮสคูลฟอร์ดิอาร์ตส์ เขาสร้างสตูดิโอสำหรับศึกษาผลงานสื่อผสมเชิงทดลอง และการค้นหาและเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างสร้างสรรค์ เขาได้ริเริ่มโครงการร่วมมือกันที่ผสมผสานการใช้จิตรกรรมสื่อผสม ศิลปะจัดวาง การเชิดหุ่นแบบเล่นกับเงา วิดีโอ และการแสดง หลังจากที่เขาย้ายถิ่นฐานไปที่ออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2538 เขาได้สานต่อความสนใจเกี่ยวกับความทรงจำ การเคลื่อนย้าย การแลกเปลี่ยนและข้ามกันระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่าง การร่วมมือกันของชุมชน และประสบการณ์ในการย้ายไปมาระหว่างหลายวัฒนธรรม เขาก็ยังสนใจที่จะวินิจฉัยว่าการตอบโต้เหล่านี้จะสามารถเปลี่ยนวิธีคิดได้อย่างไร ผ่านการสืบเสาะค้นหาของการเชื่อมโยงของการตั้งอาณานิคม การพลัดถิ่น และโลกาภิวัฒน์ของวัฒนธรรม รีอามิลโลได้ร่วมมือกับกลุ่มชุมชนหลากหลายไม่ว่าจะเป็นในภูมิภาคออสเตรเลียหรือประเทศอื่น โดยเขาพัฒนางานศิลปะการมีส่วนร่วม ‘ประติมากรรมสังคม’ ในรูปแบบของ ‘ยานพาหนะ/เรือ/-งานฝีมือ’ เป็นการตอบสนองต่อบริบทและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โครงการใหม่ ๆ ของเขามักถูกพัฒนาผ่านกระบวนการ ‘ล่า และ รวม’ อย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งตัวศิลปินได้ตีความใหม่ให้ ‘ล่า’ หมายถึงอุปกรณ์หรือของที่ใช้แล้วส่วน ‘รวม’ หมายถึงการรวมตัวของคน

รีอามิลโลได้แสดงงานในออสเตรเลียและในฟิลลิปปินส์ และได้เข้าร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการระดับประเทศและนานาชาติ สำหรับโครงการร่วมทำและศิลปินพำนัก เช่น  Polyphony: Southeast Asia (พิพิธภัณฑ์ศิลปะนานจิงยูนิเวอร์ซิตี้ออฟดิอาร์ตส์ พ.ศ. 2562) Artist Making Movement เอเชียน อาร์ต ไบเอนเนียล (พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติไต้หวัน พ.ศ. 2558) Sculpture by the Sea Bondi (ซิดนีย์ พ.ศ. 2558) The Roving Eye: Contemporary Art from Southeast Asia (อาร์เตอร์/สเปซฟอร์อาร์ต พ.ศ. 2557) ฟูกูโอกะ เอเชียน อาร์ต เทรียนนาเล่ ครั้งที่ 3 (ฟูกูโอกะ เอเชียน อาร์ต มิวเซียม พ.ศ. 2550) 

รีอามิลโลได้รับรางวัลจากมูลนิธิฟรีแมนฟอร์เอเชียนอาร์ตติสท์เฟลโลชิป เวอร์มอนต์ สตูดิโอ เซ็นเตอร์ สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2539 และในปี พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลเธอทีนอาร์ตติสท์จากคัลเจอร์รัลเซ็นเตอร์ออฟเดอะฟิลลิปปินส์

ปัจจุบันเข้าแบ่งเวลาอยู่ระหว่างมะนิลาและเพิร์ท

On Display at BAB2022