Apotekariya Cena (Semana Santa Cruxtation II or How to intone Butiki, Bituka, Botika

(
2021-2022
)
<
1
/
2
3
>
Artwork Details
Installation
Displayed at
Queen Sirikit National Convention Center

Alwin Reamillo studied Visual Arts at the Philippine High School for Arts, University of the Philippines College of Fine Arts, W.A. School of Visual Arts, Western Australian Academy of Performing Arts. 

He began his artistic practice as an Arts Teacher at the Philippine High School for the Arts. His studio practice is grounded  in experimental mixed media and pedagogical exploration of creative play. He has initiated collaborative interdisciplinary projects between mixed media painting, installation, shadow puppetry, video and performance. After migrating to Australia in 1995, he began to explore ideas about memory, mobility, cross-cultural dialogue/exchange, community collaboration and the experience of moving back and forth between cultures– interested in examining how these interactions can change ways of thinking. Through immersive exploration of intertwined themes of colonisation, migration and globalisation of culture, Reamillo has collaborated with diverse communities across regional Australia and overseas, developing participatory ‘social sculptures’ in the form of ‘vehicles/ vessels/-crafts’, in response to local contexts and histories. Recent projects often developed through an immersive process of ‘hunting and gathering’, which the artist re-translates as ‘hunting’ for found and sought materials/resources and a ‘gathering’ of people. 

Reamillo has presented work in Australia and in the Philippines and has participated in national and international exhibitions, collaboration projects and artists residencies, including Polyphony: Southeast Asia (Art Museum of Nanjing University of the Arts, 2019); Artist Making Movement: Asian Art Biennial 2015 (Taiwan National Museum of Fine Arts); Sculpture by the Sea Bondi 2015 (Sydney); The Roving Eye: Contemporary Art from Southeast Asia (ARTER/Space for Art, 2014); Third Fukuoka Asian Art Triennale (Fukuoka Asian Art Museum, 2007).

Reamillo was a recipient of Freeman Foundation for Asian Artist Fellowship, Vermont Studio Center, USA 1996 and the 1994 Thirteen Artists Awards, Cultural Center of the Philippines. 

He currently divides time between Manila and Perth.

อัลวิน รีอามิลโลเรียนทัศนศิลป์ที่โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายด้านศิลปะแห่งฟิลิปปินส์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ สถาบันทัศนศิลป์แห่งรัฐออสเตรเลียตะวันตกและสถาบันศิลปะการแสดงแห่งรัฐออสเตรเลียตะวันตก 

เขาเริ่มทำงานศิลปะเมื่อเป็นครูศิลปะที่โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายด้านศิลปะแห่งฟิลิปปินส์ การทำงานในสตูดิโอของเขาอยู่บนรากฐานงานสื่อผสมเชิงทดลองและการค้นหาแนวทางการสอนการเล่นสร้างสรรค์ เขาได้ริเริ่มโครงการความร่วมมือสหสาขาระหว่างจิตรกรรมสื่อผสม ศิลปะจัดวาง หุ่นเงา วีดิทัศน์และการแสดง หลังจากที่ย้ายไปอยู่ออสเตรเลียเมื่อปี พ.ศ. 2538 เขาเริ่มสำรวจแนวคิดเรื่องเรื่องความทรงจำ การเคลื่อนย้าย การสนทนา/แลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรมและประสบการณ์ที่ต้องย้ายไปมาระหว่างวัฒนธรรมต่าง ๆ เขาสนใจตรวจสอบว่า

ปฎิสัมพันธ์เหล่านี้เปลี่ยนแปลงวิธีคิดต่าง ๆ ได้อย่างไร ด้วยการสำรวจแนวความคิดที่แยกขาดจากกันไม่ได้ในเรื่องการล่าอาณานิคม การย้ายถิ่นฐานและโลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรมอย่างเข้าไปมีส่วนร่วมเต็มที่ รีอามิลโลได้มีโอกาสร่วมงานกับชุมชนหลากหลายทั่วออสเตรเลียและประเทศอื่น ๆ พัฒนางาน ประติมากรรมทางสังคมที่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในรูปแบบของ พาหนะ/ยาน/-งานฝีมือตอบสนองต่อบริบทและประวัติศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น 

โครงการในช่วงหลัง ๆ มักจะพัฒนาจากกระบวนการที่เข้าไปมีส่วนร่วมเต็มที่ของการ ‘ล่าและรวมกลุ่ม’ ซึ่งศิลปินแปลใหม่ว่าเป็นการ ‘ล่า’ สิ่งของ/แหล่งวัสดุที่ใช้แล้วและการ รวมกลุ่มของผู้คน

รีอามิลโลได้แสดงผลงานที่ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์และได้ร่วมนิทรรศการระดับชาติและนานาชาติ โครงการความร่วมมือและศิลปินในพำนักต่าง ๆ อาทิ Polyphony: Southeast Asia (พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งมหาวิทยาลัยศิลปะหนานจิง, พ.ศ. 2562) Artist Making Movement: Asian Art Biennial 2015 (พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์แห่งชาติไต้หวัน) Sculpture by the Sea Bondi 2015 (ซิดนีย์) The Roving Eye: Contemporary Art from Southeast Asia (อาร์เทอร์/สเปซฟอร์อาร์ต, พ.ศ. 2557) ฟุกุโอกะเอเชียนอาร์ตเทรียนนาเล่ครั้งที่ 3 (พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชียแห่งฟุกุโอกะ, พ.ศ. 2550)

รีอามิลโลได้รับทุนสนับสนุนศิลปินเอเชียของมูลนิธิฟรีแมนให้ไปเป็นศิลปินในพำนักที่เวอร์มอนต์สตูดิโอเซ็นเตอร์ สหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2539 และรางวัลสิบสามศิลปินของศูนย์วัฒนธรรมแห่งฟิลิปปินส์เมื่อปี พ.ศ. 2537

ปัจจุบันรีอามิลโลอยู่ทั้งที่มะนิลาและเพิร์ท