Shiota’s inspiration often emerges from a personal experience or emotion which she expands into universal human concerns such as life, death and relationships. She has redefined the concept of memory and consciousness by collecting ordinary objects such as shoes, keys, beds, chairs and dresses, and engulfing them in immense thread structures. She explores this sensation of a ‘presence in the absence’ with her installations, but also presents intangible emotions in her sculptures, drawings, performance videos, photographs and canvases. In 2008, she was awarded with the Minister of Education, Culture, Sports, Science and Technology’s Art Encouragement Prize for New Artists, Japan. In 2015, Shiota was selected to represent Japan at the 56th Venice Biennale.Her work has been displayed at international institutions worldwide including the Espoo Museum of Modern Art (Espoo, 2021); Museum of New Zealand Te Papa Tongarewa (Wellington, 2020); Mori Art Museum (Tokyo, 2019); Gropius Bau (Berlin, 2019); Art Gallery of South Australia (2018); Yorkshire Sculpture Park (UK, 2018); Power Station of Art (Shanghai, 2017); K21 Kunst Nordrhein-Westfalen (Düsseldorf, 2015); Smithsonian Institution Arthur M.Sackler Gallery (Washington DC, 2014); the Museum of Art (Kochi, 2013); and the National Museum of Art (Osaka, 2008) among others. She has also participated in numerous international exhibitions such as the Oku-Noto International Art Festival (2017); Sydney Biennale (2016); Echigo-Tsumari Art Triennale (2009) and Yokohama Triennale (2001).
แรงบันดาลใจของชิโอตะมักเกิดมาจากประสบการณ์ส่วนตัวหรืออารมณ์ที่เธอพัฒนาไปสู่ความกังวลของมนุษยชน เช่น เรื่องชีวิต การตาย และความสัมพันธ์ เธอได้ให้ความหมายใหม่กับแนวคิดเรื่องความทรงจำและความรู้สึกตัวโดยเธอรวมรวบของธรรมดา ๆ อย่างรองเท้า กุญแจ เตียง เก้าอี้ และชุดกระโปรง และเธอใช้เส้นด้ายคลุมของใช้พวกนั้นรวมเป็นโครงสร้างขนาดมหึมา เธอค้นหาความรู้สึกของ ‘การมีอยู่ ในการไม่มีอยู่’ ในผลงานประเภทศิลปะจัดวางของเธอ ในขณะที่เธอแสดงความรู้สึกที่ไร้ตัวตนในผลงานประติมากรรม ภาพเขียน วีดิทัศน์การแสดง ภาพถ่าย และงานบนแคนวาส ในปี พ.ศ. 2551 เธอได้รับรางวัล อาร์ต เอนเคอเรจเมนท์ สำหรับศิลปินหน้าใหม่ จากกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2558 ชิโอตะได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนแสดงผลงานของประเทศญี่ปุ่นในงานเวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 56
ผลงานของเธอได้ถูกจัดแสดงในสถาบันนานาชาติทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่เอสปู (พ.ศ. 2564) พิพิธภัณฑ์แห่งนิวซีแลนด์ เทปาป้า ตองกาเรวา (เวลลิงตัน พ.ศ. 2563) พิพิธภัณฑ์โมริ (โตเกียว พ.ศ. 2562) โกรปิอุส-เบา (เบอร์ลิน พ.ศ. 2562) หอศิลป์เซาท์ออสเตรเลีย (พ.ศ. 2561) สวนประติมากรรมยอร์กเชอร์สคัลป์เจอร์พาร์ค (สหราชอาณาจักร พ.ศ. 2561) เพาวเวอร์สเตชั่นออฟอาร์ต (เซี่ยงไฮ้ พ.ศ. 2560) K21 คุ๊นซ์ นอร์ดไรน์-เวสต์ฟาเลน (ดัสเซลดอร์ฟ พ.ศ. 2558) ห้องแสดงผลงาน อาร์เทอร์ เอ็ม. แซกเลอร์ ณ สถาบันสมิธโซเนียน (วอชิงตัน ดี.ซี. พ.ศ. 2557) พิพิธภัณฑ์ศิลปะ (โคชิ พ.ศ. 2556) และ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ (โอซากะ พ.ศ. 2551) เป็นต้น เธอยังได้ร่วมอยู่ในนิทรรศการนานาชาติอีกมากมาย เช่น เทศกาลศิลปะนานาชาติโอกุ-โนโตะ (พ.ศ. 2560) ซิดนีย์ เบียนนาเล่ (พ.ศ. 2559) เอจิโกะ-สึมาริ อาร์ต เทรียนนาเล่ (พ.ศ. 2552) และ โยโกฮามะ เทรียนนาเล่ (พ.ศ. 2544)