Pinaree Sanpitak is widely regarded as one of Southeast Asia's most important contemporary artists. Her practice explores the human body and form as a vessel of experience and perception, and the sense of the body in space and the perceived iconographic and conceptual associations they may trigger. A recurring motif is the female breast, distilled into its basic form of vessel and mound, which for her, related to imagery of the Buddhist stupa (shrine) and offering bowl. Sanpitak correlates it to primal and sacred forms in nature, Thai tradition and culture, and Buddhist architecture and practices. Her work nonetheless exceeds readings through the narrow confines of gender, religion and culture alone.
Her sensorial inquiries also reveal a keen sensitivity towards a range of materials, and over the past three-and-a-half decades she has produced an expansive and compelling body of work across diverse media and techniques including painting, collage, drawing, printmaking, sculpture, installation and performance. Underpinning Sanpitak’s practice is an abiding fascination with the potentiality of the body, her own body as sensate space, her lived experience of the bodily as a woman and, more recently, the charged and often convivial space between and among bodies that her participatory works create.
Sanpitak’s works have been shown in numerous museums and biennales, including Setouchi Triennale (2019), the 18th Biennale of Sydney (2012), Busan Biennale (2008). She has exhibited her works at Museum Arnhem (The Netherlands), National Gallery Singapore, Singapore Art Museum, ILHAM Gallery (Malaysia), Queensland Art Gallery | Gallery of Modern Art (Australia), Museum of Modern Art Tokyo (Japan), MAIIAM Contemporary Art Museum (Thailand) amongst many others. In 2007, she received the Silpathorn Award from the Thai Ministry of Culture, one of the top honours for artists in the country.
Sanpitak’s works are included in the collections of the Fukuoka Asian Art Museum (Japan), Queensland Art Gallery | Gallery of Modern Art (Australia), Los Angeles County Museum of Art (USA), Asian Art Museum San Francisco (USA), Bill & Melinda Gates Foundation (USA), Nasher Museum of Art (USA), Museum of Modern Art Tokyo (Japan), Chulalongkorn University (Thailand), Arter–Vehbi Koç Foundation (Turkey), and M+ (Hong Kong).
พินรี สัณฑ์พิทักษ์ ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นศิลปินร่วมสมัยที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การทำงานของเธอมักศึกษาร่างและสรีระของมนุษย์ในฐานะที่เป็นสื่อส่งผ่านประสบการณ์ หรือมุมมอง และประสาทสัมผัสของร่างที่มีต่อพื้นที่ และความสามารถที่ร่างสามารถถูกกระตุ้นให้เกิดการรับรู้เชิงสัญลักษณ์และแนวคิดได้ พินรีใช้วิธีการลดทอนรูปทรงเต้านมไปสู่รูปทรงที่เรียบง่ายขึ้นเช่น รูปภาชนะ หรือเนินโค้งมน ซึ่งสำหรับเธอแล้วเชื่อมโยงกับภาพของพระพุทธรูป(เทวสถาน)และบาตรพระ ศิลปินเปรียบเทียบรูปทรงนี้กับรูปร่างปฐมภูมิ หรือรูปร่างศักดิสิทธิ์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ประเพณีและวัฒนธรรมไทย สถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา และการปฏิบัติในแนวคิดแบบพุทธด้วย ดังนั้นผลงานของเธอจึงก้าวผ่านการตีความที่จำกัดเฉพาะเพียงเรื่องเพศสภาพ ศาสนา และวัฒนธรรมเพียงอย่างเดียว
การค้นคว้าเรื่องสรีระและประสาทสัมผัสของพินรียังได้ขยายขอบเขตไปสู่เรื่องของวัสดุ โดยในสามทศวรรษที่ผ่านมา ศิลปินได้ผลิตผลงานในสื่อต่าง ๆ มากมาย รวมไปถึง จิตรกรรม คอลลาจ ภาพพิมพ์ ประติมากรรม ศิลปะจัดวาง และศิลปะการแสดง นอกจากนี้ สิ่งที่สนับสนุนการทำงานของเธอได้เป็นอย่างดี คือความสนใจอย่างต่อเนื่องในความเป็นไปได้ของร่างกาย ร่างของเธอเองในฐานะพื้นที่ของการรับรู้ และประสบการณ์ทางร่างกายของผู้หญิง และโดยเฉพาะในระยะหลัง ความสนใจในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย ที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมในพื้นที่และผลงานที่เธอสร้างขึ้นอีกด้วย
ผลงานของพินรี สัณฑ์พิทักษ์ ถูกจัดแสดงในเทศกาลศิลปะนานาชาติมากมาย อาทิ เซโตอุจิ เทรียนนาเล่ (ญี่ปุ่น พ.ศ. 2562) ซิดนีย์ เบียนนาเล่ ครั้งที่ 18 (พ.ศ. 2562) ปูซาน เบียนนาเล่ (พ.ศ. 2551) และเคยแสดงผลงานที่พิพิธภัณฑ์ระดับโลก อาทิ พิพิธภัณฑ์อาร์นไฮม์ (เนเธอร์แลนด์) หอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Singapore Art Museum หอศิลป์ ILHAM Gallery (มาเลเซีย) หอศิลป์ Queensland Art Gallery | Gallery of Modern Art (ออสเตรเลีย) พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่โตเกียว (ญี่ปุ่น) พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม (ประเทศไทย) ฯลฯ พินรี สัณฑ์พิทักษ์ได้รับรางวัลศิลปาธร จากกระทรวงวัฒนธรรมในปี พ.ศ. 2550
พินรี สัณฑ์พิทักษ์ มีผลงานอยู่ในคอลเลคชั่นสะสมระดับโลกรวมถึง พิพิธภัณฑ์ Fukuoka Asian Art Museum (ญี่ปุ่น) หอศิลป์ Queensland Art Gallery | Gallery of Modern Art (ออสเตรเลีย) พิพิธภัณฑ์ Los Angeles County Museum of Art (สหรัฐอเมริกา) พิพิธภัณฑ์ Asian Art Museum San Francisco (สหรัฐอเมริกา) มูลนิธิ Bill & Melinda Gates Foundation (สหรัฐอเมริกา) พิพิธภัณฑ์ Nasher Museum of Art (สหรัฐอเมริกา) พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่โตเกียว (ญี่ปุ่น) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ประเทศไทย) มูลนิธิ Arter–Vehbi Koç Foundation (ตุรกี) และพิพิธภัณฑ์ M+ (ฮ่องกง).