Rachel

Kneebone

United Kingdom
1973

Rachel Kneebone's work addresses and questions the human condition: renewal, life cycles and the physical body. Working primarily in sculpture that embraces the unpredictable nature of its medium – porcelain – Kneebone focuses on ideas of movement and metamorphosis, transformation and suspension and the material manifestation of fluid physical states. Kneebone has stated that her work is 'concerned with inhabiting the body, what it is to be alive in the world'. 

Kneebone began working in porcelain around 2002, initially drawn to it for its bone whiteness which is nascent and neutral in feel. Pushing the material beyond its boundaries – and long historical traditions – she works her 'clay body' to maximise its organic response, developing a symbiotic relationship to the medium that involves chance and the loss of overall control. This creative exchange, between artist and material and between the decisive acts of modelling and the unexpected results of the kiln, allows for a dynamic sense of movement in her sculptures where cracks and fissures – and occasional collapse – physically registers the passage of time. 

Occupying a near-subliminal space, Kneebone's sculptures can oscillate between the conscious and the subconscious, the real and the imagined, everything and nothing. Densely worked, intricate forms emerge from undulating masses of clay; recumbent limbs stretch out into surrounding space and floral forms, spheres and ribbons interweave and conjoin together. Covered with a clear gloss glaze, light moves across their surfaces, creating dark areas of shadow and highlighting their tension of positive and negative form, motion and calm.

ผลงานศิลปะของเรเชล นีโบนตั้งคำถาม และกล่าวถึงสภาวะความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะเรื่องการเกิดใหม่ วงจรชีวิต และร่างกาย นีโบนสร้างสรรค์ผลงานประเภทประติมากรรม โดยเฉพาะ พอร์ซเลน ซึ่งตามธรรมชาติแล้วเป็นสื่อที่คาดเดาผลลัพธ์ได้ยาก เธอสนใจแนวคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การกลายร่าง การเปลี่ยนแปลง สภาวะความไม่แน่นอน และการที่วัสดุตั้งอยู่ในสถานะทางกายภาพที่ลื่นไหล เธอกล่าวว่าผลงานของเธอ “เกี่ยวกับการมีอยู่ผ่านร่างกาย และความหมายของการมีชีวิตบนโลกใบนี้”

เรเชล นีโบนเริ่มทำงานกับเครื่องเคลือบพอร์ซเลนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 โดยเริ่มจากสนใจความขาวแบบโทนสีกระดูก ที่นำพามาซึ่งความรู้สึกของการเริ่มต้นและความรู้สึกเป็นกลาง เธอต้องการผลักดันขอบเขตและประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดินในฐานะวัสดุ 

และสร้างสิ่งที่เธอเรียกว่า “ร่างของดิน (clay body)” โดยเน้นสร้างความสัมพันธ์ทางชีวภาพ และเพิ่มการตอบสนองอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ แม้จะเป็นกระบวนการที่ศิลปินมีความเสี่ยง ที่จะต้องสูญเสียการควบคุมในวัสดุโดยสิ้นเชิงก็ตาม  การแลกเปลี่ยนอย่างสร้างสรรค์ระหว่างศิลปินและวัสดุที่เกิดขึ้นนี้ กล่าวคือ ระหว่างการตัดสินใจอย่างแม่นยำของศิลปินในระหว่างการปั้นต้นแบบ กับสิ่งที่คาดไม่ถึงที่อาจเกิดขึ้นในเตาเผา ทำให้กับประติมากรรมของนีโบนนั้นให้ความรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวได้ ในรอยแตกหรือรอยแยก ระหว่างการล้มพังที่เกิดขึ้นในบางครั้ง หรือการบันทึกไว้ของช่วงเวลาอย่างเป็นรูปธรรม

ประติมากรรมของนีโบนเสมือนว่าสามารถรับรู้ได้ในพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับจิตใต้สำนึก และเคลื่อนไปมา ระหว่างสภาวะรู้สึกกับไม่รู้สึกตัว ระหว่างความเป็นจริงกับจินตนาการ ระหว่างทุกสิ่งหรือไม่ใช่สิ่งใดเลย รูปทรงที่ซับซ้อนที่ผ่านการสร้างสรรค์อย่างละเมียดละไมผุดขึ้นจากก้อนดินที่ไม่ราบเรียบ แขนขาจากร่างที่นอนเอกเขนกยื่นออกมาสู่ที่ว่าง รูปร่างของดอกไม้ ลูกโลก ริบบิ้น ถักทอเข้าด้วยกัน แสงกระทบผ่านพื้นผิวที่เคลือบใสเป็นมันวาว และสร้างพื้นที่ของเงาสีเข้ม เป็นการเน้นขั้วตรงข้ามระหว่างพื้นที่เชิงบวกกับลบ และการเคลื่อนไหวกับความสงบ

On Display at BAB2022