Tiffany

Chung

Vietnam
USA
1969

Tiffany Chung is globally noted for her interdisciplinary and research-based practice, with meticulously detailed hand-drawn and embroidered cartographic works and mixed media installations consisting of paintings, photographs, sculptures, videos, archival materials, and at times, theater performances. Chung’s projects unpack spatial transformation, geopolitical partitioning, conflict, environmental crisis, forced displacement, and refugee migration, across time and terrain. Excavating layers in histories of traumatized topographies, Chung’s work creates interventions into the spatial and political narratives produced through statecraft with cultural memories. She believes acts of remembrance can work through and call for accountability of historical injustices, but also generate hope and set the course of action for a better future. 

Chung’s work was featured in the main exhibition All the World’s Futures at the 5 Venice Biennale (2015), with 40 map-based drawings from her ongoing Syria Project tracking the current crisis in Syria. Her recent solo exhibition, TIFFANY CHUNG: Vietnam, Past Is Prologue, was presented at the Smithsonian American Art Museum in 2019. Chung has exhibited at museums and biennials worldwide including the Museum of Modern Art (NY), Nobel Peace Center (Norway), Louisiana MoMA (Denmark), SF MoMA, 21 Century Museum Kanazawa (Japan), Centre de Cultura Conteporània de Barcelona (Spain), Statens Museum for Kunst (Denmark), Sharjah Biennale (UAE), XIII Biennial de Cuenca (Ecuador), Sydney Biennale (Australia), Gwangju Biennale (Korea), EVA International–Ireland’s Biennial, among many others. Chung has been a recipient of Sharjah Biennial Artist Prize for Exceptional Contribution (2013), Asian Cultural Council Grant (2015), Asia Society India Asia Arts Game Changer Award (2020). She was a finalist for the Vera List Center Prize and named Jane Lombard Fellow for Art & Social Justice (New School, 2018-2020). Chung is currently a Mellon Arts & Practitioner Fellow at Yale University’s Center for the Study of Race, Indigeneity, and Transnational Migration (2021).

ทิฟฟานี ชุงเป็นศิลปินที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกสำหรับการทำงานศิลปะในสาขาที่เน้นการวิจัยและสหวิทยาการ ผลงานของเธอมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นภาพแผนที่จากการปักผ้า หรือวาดเส้นอันละเอียดลออ หรือผลงานประเภทสื่อผสมและศิลปะจัดวางที่ประกอบด้วยจิตรกรรม ภาพถ่าย ประติมากรรม วิดีโอ ข้อมูลหลักฐาน และในบางครั้งละครเวทีด้วย โครงการศิลปะของเธอมักศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ การแบ่งขอบเขตของภูมิรัฐศาสตร์ ความขัดแย้ง ปัญหาสิ่งแวดล้อม การพลัดถิ่นแบบบังคับ การลี้ภัย ในช่วงเวลาและแผ่นดินต่าง ๆ  ทิฟฟานี ชุงสกัดประวัติศาสตร์ของความเจ็บปวดออกเป็นชั้น ๆ และต้องการแทรกแซงพื้นที่ เรื่องราวทางการเมือง ซึ่งถูกชักใยโดยภาครัฐ จากการสร้างความทรงจำทางวัฒนธรรม  ในฐานะศิลปิน ชุงเชื่อว่า กระบวนการจดจำสามารถเป็นวิธีช่วยจัดการ และเรียกร้องหาคำอธิบายแก่ความอยุติธรรมในประวัติศาสตร์ และยังช่วยสร้างความหวัง หรือเป็นตัวอย่างของการกระทำเพื่ออนาคตที่ดีได้

ทิฟฟานี ชุงได้ร่วมแสดงในนิทรรศการหลักของเทศกาลศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 56 (พ.ศ. 2558) โดยแสดงผลงานวาดเส้นแผนที่ 40 ภาพ จาก Syria Project ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องเกี่ยวกับวิกฤติในซีเรีย นิทรรศการเดี่ยวล่าสุดรวมถึง TIFFANY CHUNG: Vietnam, Past Is Prologue ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะอเมริกันสมิธโซเนียน พ.ศ. 2562 และเคยจัดแสดงผลงานที่พิพิธภัณฑ์และเทศกาลศิลปะนานาชาติทั่วโลก รวมถึงที่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (MoMA นิวยอร์ก) ศูนย์สันติภาพโนเบล (นอร์เวย์) พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ลุยเซียนา (เดนมาร์ก) SF MoMA (ซานฟรานซิสโก) พิพิธภัณฑ์ 2Century Museum Kanazawa (ญี่ปุ่น) ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรม Centre de Cultura Conteporània de Barcelona (สเปน) พิพิธภัณฑ์ Statens Museum for Kunst (เดนมาร์ก) ชาร์จา เบียนนาเล่ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เทศกาล XIII Biennial de Cuenca (เอกวาดอร์) ซิดนีย์ เบียนนาเล่ (ออสเตรเลีย) กวางจู เบียนนาเล่ (เกาหลีใต้) เทศกาลเบียนนาเล่ของไอร์แลนด์ EVA International และอื่น ๆ ชุงเป็นผู้รับรางวัล Artist Prize for Exceptional Contribution จากชาร์จา เบียนนาเล่ (พ.ศ. 2556) ทุน Asian Cultural Council (พ.ศ. 2558) รางวัล Asia Society India Asia Arts Game Changer (พ.ศ. 2563) และถูกคัดเลือกให้รับรางวัล Vera List Center Prize และ Jane Lombard Fellow for Art & Social Justice (New School พ.ศ. 2561-63) ปัจจุบัน ทิฟฟานี ชุงเป็นนักวิจัยตำแหน่ง Mellon Arts & Practitioner Fellow ที่ศูนย์การศึกษาเชื้อชาติ ชนพื้นเมือง และการย้ายถิ่นข้ามชาติ สังกัดมหาวิทยาลัยเยล (พ.ศ. 2563)

On Display at BAB2022