Again and Again

(
2022
)
<
1
/
2
3
>
Artwork Details
Durational performance
Displayed at
Bangkok Art and Culture Centre

Again and again is a durational performance that attempts to address the experiences of the oppressed, marginalized and forgotten in the historical discourse of contemporary Myanmar mainly due to the political violence. In so doing, the collective questions the precariousness and grievability of their lives in general. Although the collective attempts to tackle the issues around the collective trauma caused by the political violence and injustice by drawing upon specific corporal and temporal experiences from the post-colonial period in Myanmar since 1948, the collective acknowledges that these issues around political violence are applicable to many parts of the world from the Global North to the Global South. 

In this performance, the artist sits motionless on a chair with his head covered in a black cloth in an empty room throughout the entire duration of the performance.The empty room here signifies empty spaces and places that are the consequences of rampant and systematic political violence happening all over the world, and most notably in Myanmar and in Ukraine nowadays. A black cloth around the head of the artist represents the unmourned identities and communities that have long been suffering from the senseless acts of political violence in many parts of the world.

Framed within the specific context of the corporal and everyday experiences of individuals/communities dwelling on or moving along the borders of stability and instability, hope and hopelessness and life and death, this performance can also be viewed as an attempt to create or recreate a presence of the absentlives and ungrievable lives using corporality and temporality of an artist’s body.

“Our Glorious Years Our Glorious Burma: Again and Again” เป็นส่วนหนึ่งของชุดการแสดงที่สร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง ศิลปินใช้ร่างกายสำรวจประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ 

เมียนมาได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีสงครามกลางเมืองต่อเนื่องยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และศาสนาอย่างพวกโรฮิงญาถูกทารุณกรรม ถูกฆ่าและถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานโดยผู้นำเผด็จการทหารมาหลายทศวรรษนับแต่ได้รับอิสรภาพจากอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2491 

“Again and Again” เล่าประสบการณ์ของบรรดาผู้ถูกกดขี่ ผู้ถูกกีดกันให้เป็นคนชายขอบและผู้ถูกลืมในวาทกรรมเชิงประวัติศาสตร์ของเมียนมาในปัจจุบันอันเนื่องมาจากความรุนแรงทางการเมือง ถึงแม้ว่าศิลปินจะพยายามจัดการปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความเจ็บปวดโดยรวมจากความรุนแรงและความอยุติธรรมทางการเมืองด้วยการแสดงประสบการณ์ที่เฉพาะเจาะจงด้านร่างกายและเวลาจากทั่วเมียนมา แต่ศิลปินเองก็ยอมรับว่าแก่นความคิดเหล่านี้เกี่ยวเนื่องกับหลายพื้นที่ทั่วโลกตั้งแต่ประเทศในซีกโลกเหนือไปจนถึงประเทศในซีกโลกใต้

ในงานการแสดงต่อเนื่องขนาดยาวนี้ศิลปินโปรยขี้เถ้าไปทั่วพื้นที่การแสดงและนั่งบนเก้าอี้ คลุมศีรษะด้วยผ้าดำ ขี้เถ้าในการแสดงหลัก ๆ แล้วเป็นตัวแทนการทำลายล้างแบบเกรี้ยวกราดและเป็นระบบของรัฐบาลเผด็จการ ทหารและความฝันที่แตกสลายของผู้คนที่เมียนมา ผ้าคลุมศีรษะสีดำของศิลปินเป็นตัวแทนปัจเจกบุคคลและชุมชนต่าง ๆ ผู้ถูกลืมซึ่งต้องทนทุกข์ทรมานจากการกระทำรุนแรงอันไร้เหตุผลมายาวนาน  การนั่งอยู่เงียบ ๆ หรือการดำรงอยู่ตลอดเวลาการแสดงนี้เป็นการให้เกียรติกับการดำรงอยู่ของบรรดาผู้ถูกกดขี่ ผู้ถูกกีดกันให้เป็นคนชายขอบ ผู้ถูกสังเวยชีวิตและผู้ถูกลืมในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของเมียนมา 

งานการแสดงนี้อยู่ในกรอบบริบทที่เฉพาะเจาะจงของประสบการณ์ทางร่างกายและประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของปัจเจกบุคคล/ชุมชนซึ่งอยู่ตามหรือเคลื่อนที่ไปตามเขตแดนของการมีเสถียรภาพและการขาดเสถียรภาพ ความหวังและความสิ้นหวัง ตลอดจนชีวิตและความตาย