TADIKA

(
20201
)
<
1
/
2
3
>
Artwork Details
Mixed media installation
Displayed at
Queen Sirikit National Convention Center

TADIKA (2022) was originated from community development project which Wanmuhaimin founded. This project was to exchange old and unusable equipment and furniture in classrooms of primary religion school in Deep South areas of Thailand with the new ones. After removing old equipments and furniture, Wanmuhaimin brought them to display as found object art installation to portray how poor the religion class that children in Deep South areas have to experience on a regular basis. Besides real found objects, E-taela added mixed media to describe limited freedom of religion study in his hometown. First, he displayed his digital collage pictures of law and regulation about religion school in Deep South area overlaying on content in religion textbooks, to reflect how strictly government has monitored and suppressed the freedom of religion study in the area. Second, he showed art video of children doing activities before entering religion class, by lining up and doing military discipline routine before Thai national flag, to reflect that religion study and cultural identity in community has been superimposed by secular nationalism campaign.

ผลงานศิลปะ TADIKA เริ่มต้นขึ้นจากโครงการพัฒนาชุมชนที่วันมุฮัยมีนร่วมก่อตั้ง โดยเขาได้เข้าไปร่วมปรับปรุงคุณภาพห้องเรียนสำหรับโรงเรียนตาดีกา (โรงเรียนสอนศาสนาชั้นประถมในวันหยุด) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่เก่าและผุผัง ไม่ได้รับงบประมาณซ่อมแซมหรือจัดซื้อใหม่มาเป็นเวลานาน โดยโครงการนี้เป็นการนำกระดานดำโต๊ะและเก้าอี้ และสื่อการสอนที่มีสภาพใหม่ ไปเปลี่ยนให้กับโรงเรียนตาดีกาเหล่านี้ให้บรรยากาศการเรียนการสอนกลับมาอยู่ในสภาพปกติอีกครั้ง หลังจากนั้น วันมุฮัยมีนได้นำข้าวของเครื่องใช้ดั้งเดิมในห้องเรียนเหล่านั้น มานำเสนอในห้องแสดงนิทรรศการ เพื่อบอกเล่าถึงสภาพการเรียนการสอนศาสนาที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้นอกจากนี้ วันมุฮัยมีนยังเพิ่มผลงานสื่อผสมเพื่ออธิบายบรรยากาศในพื้นที่บ้านเกิดของเขาซึ่งจำกัดอิสรภาพในการเรียนรู้ศาสนาอยู่มาก ชิ้นงานแรก เขานำเสนอผลงานภาพดิจิตอลคอลลาจที่นำตัวบทกฎหมายเฉพาะกาลเกี่ยวกับโรงเรียนสอนศาสนาในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้มาวางทับบนเนื้อหาในหนังสือเรียนสอนศาสนา เพื่อบอกถึงการตรวจสอบและควบคุมเสรีภาพการสอนศาสนาอย่างเข้มงวดโดยรัฐ ชิ้นงานที่สอง วันมุฮัยมีนแสดงวิดีโอศิลปะที่ถ่ายทำในสถานที่จริง ที่เด็กนักเรียนเข้าแถวเคารพธงชาติก่อนเข้าชั้นเรียน
สอนศาสนา เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าการเรียนศาสนาและการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมภายในชุมชนยังถูกแทรกแซงด้วยกิจกรรมปลูกฝังค่านิยมจากรัฐส่วนกลาง