For BAB 2022, an enormous Buddha head cast in aluminum as part of Melting Void: Molds of the Mind (1999) made during the last phase of his life, is placed inside a sanctuary at Wat Pho. Viewers can enter inside the hollow Buddha head filled with medicinal herbs and experience light through tiny holes related to astrological stars. Boonma wrote,
“I want the space inside the Buddha image to be a place of refuge for mindfulness of viewers who wish to be in condition of calmness and contentment.”
Boonma’s Buddha image faces the sacred image of Buddha Palaelai attended by elephant and monkey cast during the reign of Rama I. Beside Buddhist worship, the symbol of Rahu, the Hindu deity who causes eclipses is placed for devout born on Wednesday night. Boonma’s astrological sign coincided with nocturnal time of Wednesday.
In Misikawan Garden near the Reclining Buddha at Wat Pho, Boonma’s prototype of Arokayasala is displayed for the first time in public. Metal boxes filled with herbs stacked in the form of lungs refer to Khmer sanctuaries as places of prayer and healing. Boonma’s Arokayasala is installed inside Chinese-style shrine with 19th century mural paintings.
ใน BAB 2022 เศียรพระพุทธรูปอะลูมิเนียมขนาดใหญ่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน Melting Void: Molds for the Mind (พ.ศ. 2542) ซึ่งมณเฑียรสร้างสรรค์ขึ้นในช่วงสุดท้ายของชีวิตจัดวางอยู่ในวิหารแห่งหนึ่งที่วัดโพธิ์ ผู้ชมงานสามารถเข้าไปใต้เศียรพระพุทธรูปซึ่งเต็มไปด้วยสมุนไพรที่เป็นยาและสามารถมองเห็นแสงที่ลอดผ่านรูเล็ก ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับดวงดาวทางโหราศาสตร์ มณเฑียรเขียนไว้ว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาให้ที่ว่างภายในองค์พระปฏิมาเป็นที่พํานักแห่งจิตใจ สติของผู้คนที่ปรารถนาให้สภาวะของจิตนั้นเข้าสู่มิติของความสงบผ่อนคลาย” งานพระพุทธรูปของมณเฑียรตั้งอยู่ตรงข้ามพระพุทธปาลิไลยอันศักดิ์สิทธิ์มีรูปปั้นบริวารช้างและลิงอยู่ข้าง ๆ
หล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ข้าง ๆ แท่นบูชามีสัญลักษณ์ของพระราหูเทพในศาสนาฮินดูผู้สร้างปรากฏการณ์คราสวางอยู่ให้ผู้เคารพเลื่อมใสที่เกิดวันพุธตอนกลางคืน ราศีทางโหราศาสตร์ของมณเฑียรก็บังเอิญตรงกับวันพุธตอนกลางคืน
ในสวนมิสกวันใกล้ ๆ พระนอนวัดโพธิ์ต้นแบบของงาน อโรคยศาลา ของมณเฑียรจัดแสดงต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก กล่องโลหะที่มีสมุนไพรอัดแน่นเป็นรูปปอดอ้างอิงถึงวิหารขอมว่าเป็นสถานที่สวดมนต์และบำบัดเยียวยา อโรคยศาลา ของมณเฑียรติดตั้งอยู่ในเก๋งจีนที่ประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนังสมัยคริสตศตวรรษที่ 19