Unveil

(
2017
)
<
1
/
2
3
>
Artwork Details
22:00 Mins loop, Three Synchronised Full HD Projections
Displayed at

At BAB Belete presents Unveil (አርበኛ), a large video installation that includes cropped video portraits of 3000 anonymous Ethiopian patriots, presented together in a continuous loop. The historical background for the work is the anticolonial resistance that happened in Ethiopia between 1935 and 1941, which had a significant impact on history, but that went mostly forgotten. Before the out brake of the second World War, Benito Mussolini decided to invade Ethiopia. Unlike all the other African countries, Ethiopia was never colonized. The Ethiopians said no to colonialism and resisted the invasion with antique rifles and traditional weapons. During those 5 years, hundreds of thousands of peoples were brutalized and killed. The sacrifices and solidarity shown during the war is the foundation for most Africans anti-colonial movement and has provided an extraordinary historical legacy to look to modern Ethiopia as the emblem of Pan-Africanism. This happened long before Martin Luther Kin’s speech “ I have a dream”, and even before Rosa Parks refused to obey to a bus driver to give up her seat in the  coloured section to a white passenger. In the end The Ethiopians won over the Italian invasion, setting an example for the rest of the world – to those who seek freedom. 

ที่ BAB เบอเลทฮ์นำเสนอ Unveil (አርበኛ) งานวีดิทัศน์จัดวางขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยวีดิทัศน์ภาพเหมือนผู้รักชาติชาวเอธิโอเปีย 3,000 คนที่ตัดกรอบภาพและนำเสนอแบบวนเป็นลูป ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของงานชิ้นนี้คือการต่อต้านการล่าอาณานิคมที่เอธิโอเปียในระหว่างปี พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2484 ซึ่งมีผลกระทบสำคัญต่อประวัติศาสตร์แต่เกือบถูกลืม ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะอุบัติขึ้นเบนีโต มุสโสลินีตัดสินใจเข้ารุกรานเอธิโอเปีย ต่างจากประเทศในแอฟริกาประเทศอื่น ๆ เอธิโอเปียไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้น ชาวเอธิโอเปียปฏิเสธลัทธิอาณานิคมและต่อต้านการรุกรานด้วยปืนยาวแบบโบราณและอาวุธแบบดั้งเดิม ในช่วงเวลา 5 ปีนั้นผู้คนหลายแสนคนถูกกระทำทารุณกรรมและถูกฆ่า การเสียสละและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่แสดงออกมาในช่วงสงครามครั้งนั้นเป็นพื้นฐานของการเคลื่อนไหวต่อต้านลัทธิอาณานิคมของชาวอัฟริกันส่วนใหญ่และสร้างมรดกทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งเพื่อให้มองเอธิโอเปียสมัยใหม่ว่าเป็นสัญลักษณ์ของแนวความคิดแบบแพน-แอฟริกัน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเนิ่นนานก่อนสุนทรพจน์ของมาร์ติน ลูเธอร์ คิงที่ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน” และก่อนที่โรซา พาร์คส์จะดื้อแพ่งไม่เชื่อฟังคนขับรถเมล์โดยไม่ยอมสละที่นั่งของเธอในส่วนของคนผิวสีให้ผู้โดยสารผิวขาว ในที่สุดแล้วชาวเอธิโอเปียก็มีชัยชนะเหนือการรุกรานของชาวอิตาเลียน นับเป็นตัวอย่างให้ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก เป็นตัวอย่างให้ผู้แสวงหาเสรีภาพทุกคน