hello from the outside

(
2019
)
<
1
/
2
3
>
Artwork Details
Woven mat with weaving by Lili Naming, Siat Yanau, Shahrizan Bin Juin, Juraen Bin Sapirin and S. Narty Raitom
Displayed at
Wat Prayurawongsawat Worawihan

For BAB, the artist presents a mixed media installation part of the Borneo Heart project. The intrinsic quality of I-Lann’s works to engage with the community is matched by the location where the installation is presented: the Sermon Hall of Wat Prayoon, one of the oldest and most respected temples in Bangkok. Renowned for its community outreach, Wat Prayoon gathers a wide range of people within the temple’s premises and the surrounding Muslim, Christian, and Buddhist communities. In addressing the essence of community gathering, I-Lann’s installation invites the audience to active participation.  For instance, the “karaoke” mats, hanging in the Sermon Hall, combine lyrics from popular Thai and English songs evoking familiar response from the viewers. Sitting on the long and seemingly ritualistic, white mat, the audience is also invited to watch the video Pangkis, where a group of male dancers from Kota Kinabalu based ‘Tagaps Dance Theatre’, wearing I-Lann’s sculptural artwork ‘7-Headed Lalandau Hat’, perform a warrior dance in contemporary terms. Presented together with the female centered narrative of the woven mats, the video’s male narrative addresses “the anxiety of trying to find a place, to consolidate old and new knowledge, and how to be in our contemporary societies”.

ที่ BAB ศิลปินนำเสนอโครงการ Borneo Heart ส่วนที่เป็นงานจัดวางสื่อผสม รายละเอียดที่ซับซ้อนในงานของอิ-ลานที่ทำงานกับชุมชนลงตัวกับสถานที่ที่เลือกมาใช้แสดงงานศิลปะจัดวางชิ้นนี้ นั่นคือ ศาลาการเปรียญ วัดประยูรวงศาวาส วัดเก่าแก่และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ วัดประยูรฯ ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในเรื่องการทำงานกับชุมชนได้รวบรวมผู้คนมากหน้าหลายตาเข้ามาในเขตวัดและชุมชนมุสลิม คริสต์และพุทธรอบ ๆ วัด ในการพูดถึงความสำคัญของการรวมตัวของชุมชนงานจัดวางของอิ-ลานเชิญชวนผู้ชมให้มีส่วนร่วม ตัวอย่างเช่น เสื่อ “คาราโอเกะ” ที่แขวนอยู่ภายในศาลาการเปรียญนั้นผสมผสานเนื้อร้องของเพลงยอดนิยมทั้งภาษาไทยและอังกฤษซึ่งทำให้ผู้ชมงานมีปฏิกิริยาแบบที่คุ้นเคยกันดี ผู้ชมซึ่งนั่งอยู่บนเสื่อสีขาวผืนยาวที่ดูเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมยังได้รับเชิญให้ชมงานวีดิทัศน์ Pangkis ที่กลุ่มนักเต้นชายจากคณะ ‘ตากัปส์ดานส์เธียเตอร์’ จากโคตา คินาบาลูใส่หมวก ‘7-Headed Lalandau Hat’ ที่เป็นงานประติมากรรมของอิ-ลาน แสดงการเต้นรำของนักรบในรูปแบบร่วมสมัย เรื่องเล่าจากมุมมองของบุรุษในงานวีดิทัศน์ที่นำเสนอควบคู่ไปกับเรื่องเล่าของเสื่อทอที่มีสตรีเป็นศูนย์กลางกล่าวถึง “ความกระวนกระวายในการพยายามหาที่ทาง ผนวกความรู้เก่าเข้ากับความรู้ใหม่และการมีชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันของเรา”