The large charcoal on paper collage at BAB titled The Reckoning stems from the artist’s research on female mythology in Java and the stereotype these mythical figures have as the harbingers of social chaos. Her enquiry on Javanese society in fact centres on the male/female social structure, where the former is seen as the cause of disarray and indulgence, while the latter is seen as the forerunner of calm and order. In particular, The Reckoning focuses on the mythical story of Calon Arang – a character in Javanese and Balinese folklore dating from the 12th century and subsequently revived by Pramoedya Ananta Toer’s 1951 book the King, The Witch and the Priest. Tradition calls Calon Arang a widow, a witch, and a master of black magic. She is treated as an outcast and considered a disruption to social order due to her age and social condition. The drawing is accompanied by a sound installation: a poem recited by the artist, which compiles excerpts from Ananta Toer’s book and the artist’s own theories on male calm versus female chaos to emphasize that “chaos is a form of agency, and a form of feminism”.
ภาพปะติดขนาดใหญ่ที่ใช้ถ่านวาดบนกระดาษซึ่งจัดแสดงที่ BAB นี้ชื่อ The Reckoning มีที่มาจากการที่ศิลปินค้นคว้าเรื่องตำนานเกี่ยวกับสตรีในชวาและทัศนคติที่เหมารวมว่าผู้คนในตำนานเหล่านี้นำมาซึ่งความโกลาหลทางสังคม อันที่จริงแล้วการตรวจสอบสังคมชวาของเธอเน้นที่โครงสร้างทางสังคมบุรุษ/สตรี ซึ่งบุรุษถูกมองว่าเป็นสาเหตุของความยุ่งเหยิงและการทำตามความรู้สึก ในขณะที่สตรีถูกมองว่าเป็นสัญญาณของความสงบสุขและความเป็นระเบียบ งาน The Reckoning เน้นการเล่าเรื่องตามตำนานของคาล็อน อารัง ตัวละครในนิทานพื้นบ้านของชวาและบาหลีที่มีมาตั้งแต่สมัยคริสศตวรรษที่ 12 ซึ่งถูกรื้อฟื้นใหม่ในหนังสือ The King, The Witch and the Priest ที่ปรามูเดีย อนันตา ตูร์เขียนเมื่อ พ.ศ. 2494 ตำนานเรียกคาล็อน อารังว่าเป็นหญิงม่าย แม่มดและปรมาจารย์มนต์ดำ เธอเป็นคนที่สังคมไม่ยอมรับและมองว่าเป็นผู้ทำลายระเบียบทางสังคมเนื่องจากอายุและสภาพทางสังคมของเธอ ภาพนี้จัดแสดงร่วมกับงานเสียงจัดวางที่เป็นเสียงศิลปินอ่านกวีนิพนธ์บทหนึ่งซึ่งเนื้อหามาจากหนังสือของอนันตา ตูร์และทฤษฎีต่าง ๆ ของศิลปินเองในเรื่องความขัดแย้งระหว่างความสงบแบบบุรุษกับความโกลาหลแบบสตรีเพื่อเน้นย้ำว่า “ความโกลาหลเป็นการกระทำรูปแบบหนึ่งและเป็นสตรีนิยมรูปแบบหนึ่ง”