Turandot 2070

(
2019 - Ongoing
)
<
1
/
2
3
>
Artwork Details
Three-Channel Screening
Displayed at
Bangkok Art and Culture Centre

Turandot 2070 considers the contemporary problematics of China’s threat to the West, the #MeToo movement, cancel culture, and authoritarian use of technology through the prism of Turandot’s story. It departs from the narrative in the opera’s libretto, extracting only its overarching theme of female revenge as the most pervasive irrational fear of the global patriarchy. Translucent robots with forms resembling both the phallic and the feminine systematically torture and execute men with their many appendages, in vengeance for the harassment and rape of princess Turandot’s ancestors. Turandot herself appears to the masses in the form of her many chimeric avatars that emerge from a Dragon Palace sailing above the city. Her constituency is a confused and repressed people whose displays of affection for the princess border on hysteria and mass hallucination. The landscape in the video depicts a sprawling city composed of colourful yet homogenous biomorphic architecture, with all the properties of a futuristic metropolis one might expect to see in the year 2070.

The work highlights a myriad of today’s most pressing issues by exploring a possible future dominated by a grotesque totalitarian social system, whose rise is attributed directly to contemporary events, and which in itself constitutes an analysis of Western society’s fear toward the rapid advancement and influence of China. The final scene in the video, titled “Paradise,” depicts a utopian and equally hyperbolised transformation of this futuristic society where everyone, stripped to nothing but pastel-coloured underwear, cannot but engage in acts of tenderness toward one another with no regard for physical differences.

งาน Turandot 2070 วิเคราะห์ปัญหาร่วมสมัยเรื่องการคุกคามโลกตะวันตกของจีน กระแสการรณรงค์ #MeToo วัฒนธรรมการคว่ำบาตรและการใช้เทคโนโลยีของผู้มีอำนาจผ่านมุมมองเรื่องราวของตูรันโด งานออกห่างจากเรื่องเล่าตามคำร้องของโอเปราโดยใช้เฉพาะแก่นหลักเรื่องการแก้แค้นของสตรีในลักษณะที่เป็นความกลัวแบบไร้เหตุผลที่แผ่ขยายเป็นวงกว้างที่สุดของปิตาธิปไตยทั่วโลก หุ่นยนต์โปร่งแสงรูปร่างคล้ายอวัยวะเพศชายและหญิงทารุณและฆ่าผู้ชายด้วยอวัยะมากมายเพื่อแก้แค้นให้บรรดาบรรพบุรุษของเจ้าหญิง

ตูรันโดที่ถูกคุกคามและกระทำชำเรา เจ้าหญิงเองก็ทรงปรากฏตัวต่อสาธารณชนในรูปแบบของอวตารต่าง ๆ จากพระราชวังมังกรลอยละล่องเหนือเมือง รายล้อมพระองค์มีแต่พวกผู้คนที่สับสนและเก็บกดซึ่งการแสดงความรักต่อพระองค์จะคล้าย ๆ โรคขาดความรักไม่ได้และอาการประสาทหลอนแบบกลุ่ม ภูมิทัศน์ในงานแสดงภาพเมืองกว้างใหญ่ไพศาลที่ประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมที่มีสีสันแต่ดูคล้ายสิ่งมีชีวิตที่เหมือนกันไปหมด พร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดของมหานครแห่งโลกอนาคตที่เราคาดว่าจะได้เห็นในปี พ.ศ. 2613 

งานเน้นให้เห็นปัญหาสำคัญ ๆ มากมายในปัจจุบันด้วยการสำรวจอนาคตที่เป็นไปได้ซึ่งถูกครอบงำด้วยระบบสังคมเบ็ดเสร็จที่ประหลาดอันเป็นผลโดยตรงจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันและเป็นการวิเคราะห์การที่สังคมตะวันตกเกรงกลัวการพัฒนาอย่างรวดเร็วและอิทธิพลของจีน ฉากสุดท้ายในวีดิทัศน์ที่ชื่อว่า “Paradise” แสดงสังคมอุดมคติและการเปลี่ยนแปลงของสังคมอนาคตนี้แบบขยายความเกินจริง ทุกคนใส่แต่ชุดชั้นในสีพาสเทลแสดงความอ่อนโยนต่อกันและกันโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางกายภาพ