The Scale of Injustice

(
2021
)
<
1
/
2
3
>
Artwork Details
4K Video
Displayed at
Bangkok Art and Culture Centre

For Bangkok Art Biennale 2022, Vatanajyankur collaborates with Pat Pataranutaporn, MIT Media Lab in creating the work titled Voice of the Oppressed (2022). Inspired by a literature The Pedagogy of the Oppressed written by Paulo Freire which argues that the injustice of our society has led to the dehumanization and objectification of individuals, Pataranutaporn created and trained two artificial intelligences named Kawitash1 and Kawitash2. While Kawitash1 represents control, structures, orders and rules, Kawitash2 seeks liberation, and breaking the cycle of exploitation.Voice of the Oppressed (2022) also comprises of live performance, videos, and sculptural installation. The video piece sees Vatanajyankur ‘s body objectified as a gun powder machine. Controlled by Kawitash1, the artist blows and breathes black intoxicated smoke. In parallel, the live performance sees the artist as a water canon attempting to erase the gun powder, cleansing the soot. The act symbolizes the artist’s and Kawitash2’s attempt to redeem humanization.

Vatanjyankur’s work titled VOIDSCAPE (2022) presented in the virtual reality, seeks to discover ways in which laborers compete to survive during rapid stages of change. To question if humans are being dehumanized and becoming more like machines, the body of the artist, in this series, perform various tasks, from dyeing the yarns to ploughing the soil. Created in collaboration with Cyrus James Khan and Central Department Store, the medium brings the audience to interactively experience the new unknown worlds that questions the future of labor and environment affected by capitalism and mass production.

Vatanajyankur has achieved significant recognition since graduating with a BA Fine Art from RMIT University in 2011. Her selected exhibitions include Thailand Eye (Saatchi Gallery, London, 2015); Asia Triennale of Performing Arts (Melbourne Arts Centre, 2017); Negotiating the Future The Asian Art Biennial (Taiwan, 2017); Bangkok Art Biennale 2018; Foul Play (Albright Knox Art Gallery, NY); Collecting Entanglements and Embodied Histories (MAIIAM Museum of Contemporary Art, Chiang Mai, Thailand, Hamburger Bahnhof, Berlin), among others. She is the Finalist of Jaguar Asia Pacific Tech Art Prize (2015).

ในบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ 2022 กวิตาร่วมกับพัทน์ ภัทรนุธาพรจากมีเดียแล็บของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์สร้างสรรค์งานชื่อ Voice of the Oppressed (พ.ศ. 2565) ด้วยแรงบันดาลใจจากวรรณกรรม The Pedagogy of the Oppressed ของเพาโล เฟรเร่ซึ่งโต้แย้งว่าความอยุติธรรมในสังคมเราได้นำไปสู่การลดทอนความเป็นมนุษย์และ การทำให้มนุษย์กลายเป็นเหมือนวัตถุ พัทน์ได้สร้างและฝึกฝนปัญญาประดิษฐ์ขึ้นมา 2 ตัวชื่อว่า Kawitash1 กับ Kawitash2 ในขณะที่ Kawitash1 เป็นตัวแทนการควบคุม โครงสร้าง คำสั่งและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ Kawitash2 ต้องการปลดแอกและทำลายวัฏจักรการเอารัดเอาเปรียบ นอกจากนั้น Voice of the Oppressed (พ.ศ. 2565) ยังประกอบด้วยการแสดงสด งานวีดิทัศน์และประติมากรรมจัดวางด้วย งานวีดิทัศน์แสดงร่างกายของกวิตาเป็นเหมือนเครื่องจักรผลิตดินปืน ศิลปินซึ่งถูกควบคุมโดย Kawitash1 เป่าและสูดดมเขม่าควันพิษ ในขณะเดียวกันศิลปินก็แสดงสดเป็นปืนฉีดน้ำที่พยายามจะกำจัดดินปืน ล้างเขม่า การแสดงนี้เป็นสัญลักษณ์แทนความพยายามของศิลปินและ Kawitash2 ที่จะรื้อฟื้นความเป็นมนุษย์กลับมาอีกครั้ง

ผลงานของกวิตาชื่อ VOIDSCAPE (พ.ศ. 2565) ซึ่งนำเสนอด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนนี้พยายามค้นหาวิธีต่างๆ ที่ผู้ใช้แรงงานแข่งขันกันเพื่อความอยู่รอดในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรอดเร็ว เพื่อตั้งคำถามว่ามนุษย์ถูกลดทอนความเป็นมนุษย์และกำลังจะเป็นเหมือนจักรกลหรือไม่ ในงานชุดนี้ร่างกายศิลปินต้องทำหลายอย่างตั้งแต่ย้อมเส้นใยผ้าไปจนถึงไถหน้าดิน งานที่สร้างขึ้นร่วมกับไซรัส เจมส์ ข่านและห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลนี้มอบประสบการณ์แบบอินเตอร์แอคทีฟให้ผู้ชมได้เข้าไปในโลกที่ไม่รู้จักมาก่อนซึ่งตั้งคำถามเรื่องอนาคตของการใช้แรงงานและสิ่งแวดล้อมซึ่งได้รับผลกระทบจากทุนนิยมและการผลิตสินค้าที่เหมือนกันในปริมาณมาก

ผลงานของกวิตาเป็นที่ยอมรับอย่างมากนับตั้งแต่ที่เธอสำเร็จปริญญาตรีสาขาวิจิตรศิลป์จากมหาวิทยาลัยรอยัลเมลเบิร์นอินสติทิวท์ออฟเทคโนโลยีเมื่อปี พ.ศ. 2554 ตัวอย่างนิทรรศการที่แสดงผลงานของเธอ ได้แก่ ไทยเนตร (หอศิลป์ซาทชี่, ลอนดอน, พ.ศ. 2558) ตริอองนาลศิลปะการแสดงเอเชีย (ศูนย์ศิลปะเมลเบิร์น, พ.ศ. 2560) Negotiating the Future The Asian Art Biennial (ไต้หวัน, พ.ศ. 2560) บางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ 2018  Foul Play (หอศิลป์ออลไบรท์ น็อกส์, นิวยอร์ค) Collecting Entanglements and Embodied Histories (พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม, เชียงใหม่, ไทย, ฮัมเบอร์เกอร์บาห์นฮอฟ, เบอร์ลิน) และอื่น ๆ กวิตาเข้ารอบสุดท้ายในการประกาศรางวัลศิลปะเทคโนโลยีเอเชียแปซิฟิกของจากัวร์ (พ.ศ. 2558)